วันจันทร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2553

หลักธรรมาภิบาล

ระบบการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี หรือหลักธรรมาภิบาล(GOOD GOVERNANCE)
         
          หลักธรรมาภิบาล หมายถึง แนวทางในการจัดระเบียบเพื่อให้สังคมของประเทศทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ เอกชนและภาคประชาชน สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข และตั้งอยู่ใน ถูกต้องเป็นธรรม ตามหลักพื้นฐานการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีตามแผนภาพ ดังนี้
1. หลักนิติธรรม (The Rule of Law)
          หลักนิติธรรม หมายถึง การปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ โดยถือว่าเป็นการปกครองภายใต้กฎหมายมิใช่ตามอำเภอใจ หรืออำนาจของ ตัวบุคคล จะต้องคำนึงถึงความเป็นธรรม และความยุติธรรม รวมทั้งมีความรัดกุมและ รวดเร็วด้วย
2. หลักคุณธรรม (Morality)
         หลักคุณธรรม หมายถึง การยึดมั่นในความถูกต้อง ดีงาม การส่งเสริม ให้บุคลากรพัฒนาตนเอง ไปพร้อมกัน เพื่อให้บุคลากรมีความซื่อสัตย์ จริงใจ ขยัน อดทน มีระเบียบ วินัย ประกอบอาชีพสุจริต เป็นนิสัย ประจำชาติ
3. หลักความโปร่งใส (Accountability)
         หลักความโปร่งใส หมายถึง ความโปร่งใส พอเทียบได้ว่ามีความหมาย ตรงข้าม หรือเกือบตรงข้าม กับการทุจริต คอร์รัปชั่น โดยที่เรื่องทุจริต คอร์รัปชั่น ให้มี ความหมายในเชิงลบ และความน่าสะพรึงกลัวแฝงอยู่ ความโปร่งใสเป็นคำศัพท์ที่ให้แง่มุมในเชิงบวก และให้ความสนใจในเชิงสงบสุข ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ได้สะดวกและเข้าใจง่าย และมีกระบวนการให้ประชาชนตรวจสอบความถูกต้องอย่างชัดเจนในการนี้ เพื่อเป็น สิริมงคลแก่บุคลากรที่ปฏิบัติงานให้มีความโปร่งใส ขออัญเชิญพระราชกระแสรับสั่งในองค์พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ที่ได้ทรงมีพระราชกระแสรับสั่ง ได้แก่ ผู้ที่มีความสุจริต และบริสุทธิ์ใจ แม้จะมีความรู้น้อยก็ย่อมทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวมได้มากกว่าผู้ที่มีความรู้มาก แต่ไม่มีความสุจริต ไม่มีความบริสุทธิ์ใจ
4. หลักการมีส่วนร่วม (Participation)
          หลักการมีส่วนร่วม หมายถึง การให้โอกาสให้บุคลากรหรือผู้มี ส่วนเกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมทางการ บริหารจัดการเกี่ยวกับการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ เช่น เป็นคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และหรือ คณะทำงานโดยให้ข้อมูล ความคิดเห็น แนะนำ ปรึกษา ร่วมวางแผนและร่วมปฏิบัติ
5. หลักความรับผิดชอบ (Responsibility )
         หลักความรับผิดชอบ หมายถึง การตระหนักในสิทธิและหน้าที่ ความสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม การใส่ใจปัญหาการบริหารจัดการ การกระตือรือร้นในการแก้ปัญหา และเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง รวมทั้งความกล้าที่จะยอมรับผลดีและผลเสียจากกระทำของตนเอง
6. หลักความคุ้มค่า (Cost – effectiveness or Economy)
         หลักความคุ้มค่า หมายถึง การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีจำกัด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม โดยรณรงค์ให้บุคลากรมีความประหยัด ใช้วัสดุอุปกรณ์อย่างคุ้มค่า และรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้สมบูรณ์ยั่งยืน

เทคโนโลยีกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

เทคโนโลยีกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

การใช้ IT ต้องมีสติและมีเหตุผล
“…เทคโนโลยีนั้น โดยหลักการ คือการทำให้สิ่งที่มีอยู่ให้เกิดเป็นสิ่งที่นำมาใช้ประโยชน์ได้ดังนั้น เทคโนโลยีที่ดี ที่สมบูรณ์แบบ จึงควรจะสร้างสิ่งที่จะใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่าและมีความสูญเปล่าหรือความเสียหายเกิดขึ้นน้อยที่สุดโดยในทางตรงกันข้าม เทคโนโลยีที่ใช้การได้ไม่คุ้มค่า ก่อให้เกิดความสูญเปล่าและความเสียหายได้มากจัดว่าเป็นเทคโนโลยีที่บกพร่อง ไม่สมควรนำมาใช้ไม่ว่ากรณีใด พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า18  ตุลาคม2522                     ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มิได้หมายถึงการไม่ยอมรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ จากต่างชาติ    เข้ามาแล้วผลิตใช้เองทั้งหมด แต่หมายถึงการยอมเปิดรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามา เพื่อศึกษาและเพิ่มพูนความรู้ให้กับตัวเองและปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งกับตัวเองและผู้อื่น ต้องรู้จักเลือกนำเทคโนโลยีมาใช้       ให้เหมาะกับการ เหมาะกับกิจ เหมาะกับยุคสมัย และไม่ฟุ่มเฟือย                   การนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ให้เหมาะกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ต้องคำนึงถึงความจำเป็นที่จะใช้ ต้องศึกษาถึงศักยภาพของเทคโนโลยีว่ามีคุณสมบัติครบถ้วน ตรงตามที่ต้องการหรือไม่ และที่สำคัญต้องคำนวณถึงความสามารถในการที่จะให้ได้มาโดยไม่สร้างความเดือนร้อนให้กับตัวเองและไม่เพิ่มภาระ    ให้ผู้อื่น และเมื่อได้มาต้องใช้อย่างคุ้มค่า ใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด เกิดผลเสียน้อยที่สุด ใช้อย่างมีสติ     มีเหตุผล ใช้แล้วไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับตัวเองและผู้อื่น                   ดังนั้น  การเตรียมพร้อมที่จะเปิดรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามา เพื่อศึกษาและเพิ่มพูนความรู้ให้กับตัวเองและผู้อื่น จึงเป็นสิ่งที่ทุกคนควรกระทำ แต่การเปิดรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ นั้น เป็นการเปิดรับเพื่อให้รู้เท่าทันโลก มิใช่เพื่อวิ่งให้ทันโลก เปิดรับสิ่งใหม่ ๆ เพื่อนำมาปรับใช้ให้ตัวเองและประเทศอยู่รอด เพื่อความเข้มแข็งและยั่งยืนในทุก ๆ ด้านของสังคม สามารถยืนหยัดและพัฒนาได้โดยไม่ตกเป็นเครื่องมือของใคร  และประเทศก็จะอยู่ได้อย่างยั่งยืนและปกติสุขในที่สุด

วันจันทร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การสร้างบล็อก

วิธีการสร้างบล็อก











สร้างเว็บบล็อก(Blogger)
1.เข้าไปที่ http://www.blogger.com/จะแสดงหน้าจอแบบนี้ ให้คลิกที่ สร้างเว็บบล๊อกของท่านเดี๋ยวนี้
2.เมื่อท่านคลิกนี้ จะปรากฎเป็นรูปเว็บบล็อก
3. ให้ใส่รายละเอียด-ที่อยู่อีเมล : (จากที่ท่านได้สมัคร Gmail มาแล้วก่อนหน้านี้)-Enter Password : (ใส่รหัสผ่าน)-พิมพ์รหัสผ่านอีกครั้ง-Displya name (ตั้งชื่อที่จะให้แสดงตอนโพสเว็บบล็อก)-พิมพ์ตามอักษรที่ปรากฎให้ถูกต้อง-คลิกดำเนินต่อไป

4.จากนั้นให้ตั้งชื่อ เว็บบล็อกของท่าน-คลิกที่ตรวจสอบ เพื่อตรวจเช็คดูว่า มีใครใช้ชื่อนี้ไปหรือยัง ถ้ามีแล้วระบบจะแจ้งเตือนว่าใช้ไม่ได้ และจะมีตัวเลือกให้เราโดยอัตโนมัต ถ้าชอบใจตัวไหน ก็คลิกที่ชื่อด้านล่างตัวนั้นได้ แต่ถ้าต้องการชื่ออื่นอีกก็ตรวจสอบจนกว่าจะได้ชื่อที่คุณพอใจ เมื่อได้ชื่อตามที่ต้องการแล้ว คลิกที่ ดำเนินต่อไป

5.จากนั้นจะเข้าสู่การเลือกแม่แบบว่า เราต้องการเว็บบล็อกรูปแบบไหน มีให้เลือกมากมายตามต้องการสามารถคลิกเพื่อดูตัวอย่างแม่แบบได้ เมื่อได้แม่แบบตามที่เราชอบแล้ว คลิกที่ ดำเนินต่อไป

ต่อไปกดเริ่มต้นการส่งบทความทำความเข้าใจก่อนนะครับว่า Google AdSense ยังไม่รองรับเว็บไซต์ภาษาไทย แต่ในอนาคตคาดว่า ทาง Google AdSense จะยอมรับเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาที่เป็นภาษาไทย ดังนั้น ควรนำเว็บบล็อกที่มีเนื้อหาภาษาอังกฤษมาทำการสมัครให้ผ่านก่อน โดยไปหาเนื้อหาภาษาอังกฤษ ได้ที่นี่ โดยคุณควรจะเลือกทำเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
http://en.wikipedia.org/wiki/Main_page
http://www.goarticles.com/
http://www.contentmart.com/
http://www.superfeature.com/
http://www.freshcontent.net/
ถึงตอนนี้คุณก็จะมีบล็อกส่วนด้วยไว้ทำเงินกับกูเกิลอย่าลืมจดจำคือ
1.อีเมลล์ของ gmail
2.URL เว็บบล็อก เช่น http://makemoneynetonline.blogspot.com/

การสร้างอีเมลล์

วิธีการสร้าง E-mail Account ใหม่ ใน Direct Admin




1. จากหน้าแรกของ Direct Admin ในหมวด E-mail Management เข้าไปที่เมนู E-mail Account

2. เมื่อเข้ามา จะเป็นรายการอีเมลที่เคยสร้างไว้ ถ้าไม่เคยสร้าง จะมีอีเมลอยู่แล้ว 1 account โดยเป็นชื่อ user@ชื่อโดเมน คลิกไปที่ Create mail account เพื่อสร้างอีเมลใหม่ค่ะ

3. ใส่ชื่ออีเมลที่ต้องการสร้าง กำหนดรหัสผ่าน โดยกำหนดเองได้เลย หรือคลิกปุ่ม random เพื่อให้ระบบสุ่มรหัสผ่านให้ จากนั้นคลิกที่ปุ่ม Create ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อยค่ะ


4. ถ้าต้องการเปลี่ยนรหัสผ่านของอีเมลที่ได้สร้างไว้แล้ว ให้ไปที่หน้า list e-mail จากนั้นคลิกที่ change ในช่อง Password/Quota  จากนั้นใส่ รหัสผ่านใหม่ที่ต้องการ แล้วคลิกที่ modify ค่ะ
การประยุกต์ใช้ภาษาไทยบนคอมพิวเตอร์ โดย ไม่มีผู้แต่ง
          ในยุคสารสนเทศ (Information age) นี้  ข้อมูลข่าวสารเป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกคนสามารถเสาะแสวงหาหรือในทางกลับกัน  ก็สามารถเผยแพร่ให้บุคคล ทั่วไปได้รับทราบถึงข้อมูล  ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อวงการต่างๆ อย่างกว้างขวาง  การส่งและการรับข้อมูลข่าวสารที่เป็นภาษาไทยนับว่ามีความสำคัญต่อทุกวงการ  ไม่ว่าจะเป็นด้านวิชาการหรือด้านธุรกิจทั้งนี้เพื่อจะได้ติดต่อสื่อสารกันด้วยความสะดวกโดยไม่จำกัดเพศ  หรือการศึกษา  โดยใช้ภาษาไทยเป็นสื่อกลางในการติดต่อ
          เมื่อคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในการศึกษาและการประกอบอาชีพมากขึ้น  ความต้องการที่จะทำให้คอมพิวเตอร์แสดงผลภาษาไทยไปจนถึงสามารถเข้าใจภาษาไทย  และโต้ตอบด้วยภาษาไทยได้ก็เพิ่มมากขึ้น  ดังนั้น  ในบทนี้จึงได้นำเสนอความรู้เรื่องการประมวลผล  และการประยุกต์ใช้ภาษาไทยบนคอมพิวเตอร์  นับตั้งแต่เรื่องการประมวลผลอักขระ (Character processing)การประมวลผลคำ (Word processing)  การประมวลผลข้อความ (Text processing)  ไปจนถึงการประมวลผลภาพ (Image  processing)  ของภาษาไทย  เพื่อเป็นความรู้เบื้องต้นในการเรียนรู้เรื่องนี้
          เมื่อเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในการรับข้อมูล  แสดงผลข้อมูล  และพิมพ์ข้อมูลมากขึ้น  จนเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของคนในยุคสารสนเทศนี้  การประยุกต์ใช้ภาษาไทยบนคอมพิวเตอร์จึงได้รับการทำวิจัยและพัฒนาให้สามารถประมวลผลบนคอมพิวเตอร์ได้ด้วยวิทยาการที่ก้าวหน้าทางด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์(Computer  Engineering)  ผสมผสานกับเทคโนโลยีทางด้านการประมวลผลภาษาธรรมชาติ(Natural  Language  Processing)  ทางด้านการประมวลผลภาพ (Image  Processing)  และความรู้ทางภาษาศาสตร์ (Linguistics)  ด้วยความหวังว่าจะสามารถทำวิจัยและพัฒนาโปรแกรม  เพื่อให้คอมพิวเตอร์เข้าใจภาษาไทยด้วยฐานความรู้ภาษาไทยทั้งด้านอักขรวิธี  วจีวิภาค  วากยสัมพันธ์อรรถศาสตร์  รวมทั้งฉันทลักษณ์ได้
          ทวีศักดิ์  กออนันตกูล  (๒๕๓๔)  ได้เขียนไว้ใน คอมพิวเตอร์กับภาษาไทย :  การพัฒนามาตรฐานเบื้องต้นสำหรับเทคโนโลยีสารสนเทศของไทยเรื่องการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับภาษาไทยทั้งทางด้านศิลปะและวิทยาศาสตร์  และยังได้แสดงให้เห็นแผนผังภาพรวมของการศึกษาวิจัยทางภาษาไทย  ซึ่งแบ่งออกเป็น  ๒  แกน  คือ  แกนนอนเป็นการแจกแจงความเป็นศิลปะและวิทยาศาสตร์ส่วนแกนตั้ง  เป็นความนึกคิดส่วนผิวและส่วนลึก(ดูแผนผัง  ๑ ประกอบ)  ดังนั้น  การที่จะทำให้คอมพิวเตอร์เรียนรู้ภาษาไทยได้ทุกศาสตร์และสาขาวิชาตามนี้  ก็ยังคงต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มขึ้นอีกมาก  เพื่อที่จะได้โยงศาสตร์ ๒ ศาสตร์นี้เข้าด้วยกัน
          เมื่อได้รวบรวมผลงานวิจัยและพัฒนาเท่าที่ผ่านมา  ก็พบว่า  มีอาจารย์  ผู้เชี่ยวชาญ  และนักวิจัยทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน  ได้สนใจที่จะศึกษาค้นคว้าทำวิจัยและพัฒนาโปรแกรมการประมวลผลภาษาไทยบนคอมพิวเตอร์อย่างกว้างขวาง  เพื่อให้ผู้ใช้คนไทยสามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ด้วยภาษาไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งหมายรวมตั้งแต่การประมวลผลอักขระ  คำข้อความ  ไปจนถึงการประมวผลภาพภาษาไทยในบทนี้จะอธิบายโปรแกรมการประมวลผลบางโปรแกรม  เพื่อเป็นความรู้พื้นฐานให้สามารถเข้าใจเรื่องการประยุกต์ใช้ภาษาไทยบนคอมพิวเตอร์ตัวอย่างโปรแกรมเหล่านี้  ได้แก่  โปรแกรมการเรียงลำดับคำไทย  โปรแกรมตัดคำภาษาไทยโปรแกรมการสืบค้นคำไทย  โปรแกรมการสืบค้นคำไทยตามเสียงอ่าน  โปรแกรมแปลภาษาและโปรแกรมรู้จำอักขระไทยด้วยแสง  เป็นต้น